โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!

โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!

• สาเหตุ

        – สวนยางขาดการบำรุงรักษา

        – การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนด และใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน

        – กรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป กรีดถี่เกินไป และใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง

        – เกิดการผิดปกติภายในท่อน้ำยาง

• ลักษณะอาการของโรค

ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้

    1. น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ
    2. น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ การหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ
    3. น้ำยางที่กรีดได้จะใส และมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ
    4. เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง

ขณะเป็นโรค ต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหล เปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตก พุพอง แต่ต้นยางไม่ตาย ถ้าปล่อยปะไม่ควบคุม จะแพร่กระจายลุกลาม ทำให้หน้ากรีดของยางต้นนั้นเสียหายทั้งหมด (ไม่แพร่ระบาดไปสู่ต้นอื่น) การ ลุกลามของโรคมีหลายลักษณะดังนี้

    1. โรคนี้ส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางด้านซ้ายมือเสมอ
    2. เกิดโรคนี้แล้วไม่มีการดูแลรักษา โรคจะลุกลามไปยังหน้ากรีดที่อยู่ติดกัน
    3. การลุกลามของโรคบนหน้ากรีด ถ้ากรีดจากบนลงล่างโรคก็จะลุกลามจากบนลงล่าง ถ้ากรีดจากล่างขึ้นบนโรคก็จะลุกลามจากล่างขึ้นบน
    4. อาการเปลือกแห้งจะไม่ลุกลามจากเปลือกที่ยังไม่ทำการกรีดไปยังเปลือกงอกใหม่ และไม่ลุกลามจากเปลือกงอกใหม่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
    5. ถ้าเป็นโรคเปลือกแห้งชนิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 – 3 เดือน หน้ากรีดของต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้งทั้งหมด

• การป้องกันกำจัด

    1. เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก
    2. ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ
    3. ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง
    4. อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด
    5. หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ

• ยางที่จะเปิดกรีดใหม่

– สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ก่อนเปิดกรีด 3 เดือน ควรทำร่องแยกหน้ากรีดออกจากกัน ในการทำร่องให้ใช้สิ่วเซาะเป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง

– ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น โดยให้ร่องจดกับร่องที่ทำแบ่งแยกหน้ากรีด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามลงสู่ราก

– เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาดและกรีดตามระบบที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง

• ยางที่เปิดกรีดแล้วและเป็นโรคเปลือกแห้งเพียงบางส่วน

– หากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเพียงบางส่วน ถ้าไม่ควบคุมโรคจะลุกลามออกไป ทำให้หน้ากรีดเสียหายทั้งหมด

– ควบคุมโดยทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน วิธีทำร่องใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 ซม.

– หลังจากทำร่องเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค

Click to rate this post!
[Total: 1 Average: 5]

บทความที่น่าสนใจ

งานวิจัยข้าว

เราขอเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือเกษตรกรให้มีรายได้เพิ่มมากขึ้น ด้วยผลงานวิจัยและทดลองมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้เรารู้และเข้าใจการปลูกข้าวให้ได้ผลผลิตเพิ่ม และคุณภาพสูงจึงนำมาสู่การพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์คุณภาพสูงนั่นก็คือ ฮอร์โมนเม็ดระเบิดรวงข้าว เราเป็นเจ้าแรกและเจ้าเดียวที่สามารถคิดค้นวิจัยจนสำเร็จและส่งต่อให้เกษตรกรได้ใช้

งานวิจัยยางพารา

ปริมาณน้ำยาง เปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง และปัญหายางหน้าตาย 3 ปัจจัยหลักที่ส่งผลต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกรชาวสวนยางโดยตรง ทำให้เราต้องไขปัญหา เพื่อตอบโจทย์ให้เกษตรกรสวนยางให้มีรายได้เพิ่มสูงขึ้น เราได้ทุ่มเททรัพยากรและทำงานวิจัยอย่างหนักเพื่อค้นคว้าทดลอง หาสิ่งที่ส่งผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำยาง การเพิ่มเปอร์เซ็นต์เนื้อยางแห้ง และรักษายางหน้าตายไปพร้อมกัน ทั้งยังส่งเสริมให้ต้นยางมีอายุที่ยืนยาวขึ้น จนผลงานเป็นที่ประจักรต่อสายตาเกษตรกรชาวสวนยาง ความสำเร็จในครั้งนี้ ทำให้เรามีกำลังใจและแรงผลักดันในการพัฒนาต่ออย่างไม่หยุดยั้ง