บทความ

|

โรคราเส้นดำ

ความร้ายกาจของโรคนี้คือมันจะเข้าไปทำลายหน้ากรีดจนเน่าทำให้ต้องหยุดกรีดจนกว่าแผลที่หน้ายางจะหายดี และเมื่อเปลือกใหม่งอกขึ้นมาก็ไม่สามารถกรีดซ้ำบนหน้ากรีดเดิมได้ ซึ่งเชื้อรานี้จะเข้าทำลายเฉพาะบริเวณเปลือกยางที่มีบาดแผลเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเข้าทำลายทางรอยกรีดใหม่ที่กรีดไปแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ฉะนั้นการกรีดยางให้ดีและถูกต้องเสมอก็จะช่วยให้ต้นยางมีแนวโน้มที่จะรอดจากโรคนี้ได้ด้วย

ลักษณะอาการ

ระยะแรก : หลังจากที่เชื้อราเข้าทำลายแล้ว จะเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีผิดปกติเป็นรอยช้ำ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นเหนือรอยกรีด
ระยะรุนแรง : เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นบริเวณที่เป็นรอยช้ำนี้จะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ และจะขยายตัวยาวขึ้นไปในแนวดิ่ง คือสูงขึ้นไปส่วนบนเหนือรอยกรีดและลงใต้รอยกรีดอย่างรวดเร็ว ระยะนี้จะสังเกตเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน เนื่องจากเยื่อเจริญส่วนนั้นตายหมด เมื่อเฉือนเปลือกออกดูจะพบรอยบุ๋มสีดำนั้นมีลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้บริเวณแผล ซึ่งมักเป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น
ระยะรุนแรงมาก : จะทำให้เปลือกของหน้ายางบริเวณที่เป็นโรค มีอาการปริ มีน้ำยางไหลออกมา ตลอดเวลา และเปลือกบริเวณที่เป็นโรคนี้จะเน่าหลุดออกทั้งหมดในที่สุด

การป้องกันโรค

  • ควรหลีกเลี่ยงการเปิดกรีดต้นยางพาราในช่วงฤดูฝนชุก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง
  • ถ้าพบอาการที่หน้ากรีด ต้องเฉือนส่วนที่เป็นโรคออกก่อนแล้วทาด้วยยารักษาโรค ทั้งนี้อาจใช้เป็นสารเคมีกำจัดเชื้อรา หรือใช้ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อราก็ได้
  • ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชในสวนยางให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
  • ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน
  • หากมีโอกาสปลูกยางใหม่ควรเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค คือ พันธุ์ 251 พันธุ์สงขลา 36 , บีพีเอ็ม 24, พีอาร์ 255 เป็นต้น

โรคขอบใบแห้งข้าว

โรคขอบใบแห้งข้าว (bacterial leaf blight of rice) เป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งในข้าวที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งจะพบการระบาดและเข้าทำลายมากในช่วงฤดูฝนทำให้ผลผลิตเสียหายเป็นอย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่นาเขตชลประทานที่สามารถปลูกข้าวได้ตลอดทั้งปี

เชื้อสาเหตุ

เกิดจากแบคทีเรีย Xanthomonas oryzae pv. oryzae ข้าวที่เป็นโรคจะขับเชื้อแบคทีเรียออกมาทางช่องเปิดธรรมชาติหรือบาดแผลเป็นหยดของเชื้อแบคทีเรีย (bacterial ooze) แล้วแพร่กระจายไปกับน้ำ หรือลมฝน ถ้าต้นข้าวเกิดบาดแผล เช่น จากเข้าทำลายของหนอนห่อใบหรือแมลงศัตรูอื่นๆ จะทำให้การเข้าทำลายของเชื้อรุนแรงมากยิ่งขึ้น แปลงข้าวที่ใส่ปุ๋ยไนโตรเจนมากจะเป็นปัจจัยส่งเสริมที่สำคัญที่ทำให้เกิดโรคระบาดได้รวดเร็วและรุนแรงยิ่งขึ้น รวมทั้งการทำนาหว่านที่ใช้เมล็ดพันธุ์ข้าวในอัตราสูง

ลักษณะอาการโรค

อาการต้นกล้าก่อนนำไปปักดำ มีจุดช้ำเล็กๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบล่าง แล้วขยายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าวใบแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทาๆ

อาการในระยะปักดำ ขอบใบมีรอยขีดช้ำ เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มีหยดน้ำสีครีมกลมๆขนาดเล็ก และกลายเป็นสีน้ำตาล หลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งทำให้โรคระบาดออกไปได้ แผลจะขยายไปตามความกว้างของใบ ขอบแผล มีลักษณะเป็นขอบลายหยัก จะเปลี่ยนเป็นสีเทาใบที่เป็นโรคขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว ถ้าต้นข้าวมีความอ่อนแอต่อโรคจะเหี่ยวเฉาและแห้งตายทั้งต้นอย่างรวดเร็ว

การป้องกันกำจัด

  • หมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ
  • เฝ้าระวังการเกิดโรคถ้าปลูกข้าวพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคนี้ เช่น พันธุ์ข้าวดอกมะลิ105 กข6 เหนียวสันป่าตอง พิษณุโลก2 ชัยนาท1
  • ใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี60 สุพรรณบุรี90 สุพรรณบุรี1 สุพรรณบุรี2 กข7 และ กข23
  • ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนปริมาณมาก
  • ไม่ควรระบายน้ำจากแปลงที่เป็นโรคไปสู่แปลงอื่น
  • ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืช (หากพบอาการ)

การเก็บเกี่ยวข้าวอย่างถูกวิธี

คำแนะนำการเก็บเกี่ยว กำหนดวันเก็บเกี่ยว เมื่อข้าวเริ่มออกดอก หมั่นเดินสำรวจแปลงนา ถ้าข้าวทั้งแปลงออกดอกประมาณ 80% ถือเป็นวันออกดอก นับจากวันออกดอกไปอีก 28-30 วัน เป็นกำหนดวันเก็บเกี่ยวข้าวที่เหมาะสม ระบายน้ำออกจากแปลง ก่อนถึงกำหนดเก็บเกี่ยว 7-10 วัน ควรระบายน้ำออกจากแปลงนา เพื่อให้ข้าวสุกแก่สม่ำเสมอ แปลงนาแห้งสะดวกในการเก็บเกี่ยวด้วยคนหรือเครื่องเกี่ยวข้าวไม่สกปรก และเปียกน้ำ เก็บเกี่ยวข้าว เมื่อถึงระยะสุกแก่เหมาะสมคือ 28-30 วันหลังออกดอก ให้ทำการเก็บเกี่ยวความชื้นเมล็ดไม่ควรต่ำกว่า 20% การเก็บเกี่ยวข้าวก่อนหรือหลังจากระยะนี้จะทำให้ข้าวสูญเสียน้ำหนักและคุณภาพมากยิ่งขึ้น
การนวดข้าว การนวดข้าวในปัจจุบันสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น ใช้คนนวด เครื่องนวด หรือเครื่องเกี่ยวนวด การนวดทุกวิธีจะต้องระมัดระวังการสูญเสียปริมาณข้าวจากการร่วงหล่น กระเด็นติดไปกับฟางข้าว เมล็ดเกิดการแตกร้าวหรือแตกหัก การนวดที่ปฏิบัติกันในประเทศไทย มีดังนี้

  1. การใช้คนนวดหรือนวดด้วยเท้า เป็นวิธีที่ดีทำให้ข้าวไม่เสียคุณภาพ และมีการสูญเสียน้อยแต่ต้องใช้เวลาและเปลืองแรงงานมาก ไม่เหมาะกับการทำนามาก ๆ แต่เหมาะกับข้าวที่จะเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์
  2. การใช้สัตว์นวด ไม่มีผลกระทบต่อคุณภาพการสีแต่จะมีการสูญเสีย เนื่องจากการนวดไม่หมดและมีสิ่งเจือปนมากถ้าลานนวดไม่สะอาด
  3. การนวดโดยวิธีฟาด อาจฟาดกับลานข้าวโดยตรง ในครุหรือภาชนะอื่น ๆ การนวดวิธีนี้จะทำให้เกิดการสูญเสียอันเกิดจากแรงของการฟาด ทำให้มีเมล็ดบางส่วนกระเด็นสูญหายไป และบางส่วนก็ตกค้างอยู่ในรวงอันเกิดจากการนวดไม่หมด
  4. นวดโดยรถไถหรือแทรกเตอร์ วิธีนี้เมล็ดข้าวจะมีการแตกร้าวและแตกหักเวลาสีบ้าง แต่ส่วนมากการสูญเสียจะเกิดเนื่องจากเมล็ดข้าวเปลือกถูกรถบดแตกหักและมีการนวดไม่หมด
  5. การนวดโดยใช้เครื่องนวด ปัจจุบันยังนิยมใช้กันอยู่ในบริเวณที่ยังไม่มีรถเกี่ยวนวดใช้ ซึ่งส่วนใหญ่ก็มีเครื่องทำความสะอาดอยู่ในตัวทำให้สะดวกและรวดเร็ว เสียค่าใช้จ่ายต่ำ เหมาะแก่เกษตรกรที่มีการทำนามาก ๆ และใช้คนเกี่ยว
  6. การใช้เครื่องเกี่ยวนวด เครื่องจะทำการเกี่ยวและนวดข้าวออกมาเลยเมล็ดข้าวที่นวดได้จะออกมาจากเครื่องนวดและบรรจุในถังเก็บหรือในกระสอบ ความสูญเสียข้าวขึ้นอยู่กับความเร็วของรถเกี่ยว อายุข้าว ความชื้นเมล็ด การล้มของข้าว เป็นต้น

การลดความชื้นเมล็ด หลังจากเก็บเกี่ยว และนวดข้าวจะได้ข้าวเปลือก ซึ่งยังคงมีความชื้นในเมล็ดสูง เมล็ดเป็นสิ่งที่มีชีวิต มีการหายใจ การลดความชื้น เมล็ดจึงมีความสำคัญต่ออายุการเก็บรักษาอัตราการเสื่อมคุณภาพ การเข้าทำลายของเมลงศัตรูในโรงเก็บ เชื้อรา ดังนั้นหลังจากเก็บเกี่ยวและนวดจะต้องรีบตากหรือลดความชื้นเมล็ดให้แห้ง โดยเร็วที่สุด เพื่อลดอัตราการหายใจของเมล็ด ลดการเกิดเชื้อราซึ่งเป็นสาเหตุให้เมล็ดเสื่อมคุณภาพเร็วยิ่งขึ้น
วิธีการลดความชื้นของข้าว มี 2 วิธี คือ

  1. วิธีธรรมชาติ ได้แก่ การใช้แสงอาทิตย์เป็นแหล่งของความร้อน เป็นวิธีการที่เกษตรกรใช้กันมากที่สุดเพราะประหยัด ไม่ยุ่งยาก และได้ผลดี
  2. การใช้เครื่องอบ การใช้เครื่องอบ ตู้อบ ฯลฯ สามารถควบคุมการลดความชื้นให้อยู่ในระดับที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ใช้ระยะเวลาลดความชื้นไม่มากและยังสามารถควบคุมป้องกันความเสียหายต่อคุณภาพข้าวได้ดีกว่าวิธีธรรมชาติ

การทำความสะอาดข้าว หมายถึง ขั้นตอนการแยกสิ่งปะปนหรือสิ่งเจือปนต่าง ๆ ออกจากข้าว เช่น เมล็ดพืชอื่น ๆ เมล็ดวัชพืช เมล็ดข้าวที่เสียหาย (แตกหัก, ป่น, ร้าว ฯลฯ) ชิ้นส่วนต่าง ๆ ของข้าว เช่น ส่วนของใบ ลำต้น ระแง้ วัตถุอื่น ๆ เช่น กรวด หิน ดิน ทราย เศษโลหะต่าง ๆ ตลอดจนเมล็ดข้าวลีบ เมล็ดข้าวที่ไม่สมบูรณ์ เป็นต้น

การเจริญเติบโตของข้าว

การเจริญเติบโตของข้าว แบ่งได้ดังนี้
1.การเจริญเติบโตทางลำต้นและใบ แบ่งออกเป็น
-ระยะกล้า เริ่มตั้งแต่เมล็ดข้าวเริ่มงอกจนถึงมีใบ 5-6 ใบ หรือประมาณ 20 วัน หลังหว่าน
-ระยะแตกกอ เริ่มตั้งแต่มีการปักดำข้าวจนถึงข้าวสร้างรวงอ่อน หรือประมาณ 30-50 วันหลังปักดำ

2.การเจริญเติบโตทางระบบสืบพันธุ์ จะใช้เวลาประมาณ 30-50 วัน หลังข้าวแตกกอสูงสุด หรือแตกกอเต็มที่ แบ่งออกเป็น
-ระยะสร้างรวงอ่อน เป็นช่วงที่ข้าวมีการเจริญเติบโตเต็มที่ ลำต้นจะเปลี่ยนจากลักษณะแบนเป็นต้นกลม
-ระยะตั้งท้อง ระยะนี้จะเห็นต้นข้าวมีลักษณะกลมพองขึ้นอย่างชัดเจน และมีใบธงปรากฎให้เห็น
-ระยะออกดอกและผสมพันธุ์ เป็นช่วงที่ข้าวจะส่งรวงพ้นจากกาบใบ ดอกข้าวจะบานและละอองเกษรตัวผู้จะร่วงลงบนเกสรตัวเมีย

3.การเจริญเติบโตทางเมล็ด
เริ่มจากการผสมเกสรของดอกข้าว ภายในเมล็ดข้าวมีลักษณะคล้ายน้ำนมแล้วจะเปลี่ยนเป็นแป้งแข็งจนกระทั่งสุกแก่ ในระยะนี้จะใช้เวลาประมาณ 30-35 วัน

12 สายพันธุ์ข้าวและประเภทของข้าวในประเทศไทย

ประเภทของข้าว แบ่งออกเป็น 4 ประเภท 

1. ข้าวหอมมะลิ มีถิ่นกำเนิดในไทย มีลักษณะกลิ่นหอมคล้ายใบเตย พันธุ์ที่นิยมปลูกและบริโภคกันอย่างแพร่หลาย

1.1 ข้าวหอมมะลิ 105 เป็นสายพันธุ์ข้าวที่มีกลิ่นหอมคล้ายใบเตย เป็นพันธุ์ข้าวที่ปลูกที่อื่นได้ไม่ดีเท่ากับปลูกในไทย และเป็นพันธุ์ข้าวที่ทำให้ข้าวไทยเป็นสินค้าส่งออกที่รู้จักไปทั่วโลก ซึ่งข้าวหอมมะลิ 105 เป็นข้าวที่มีต้นกำเนิดจาก จ.ฉะเชิงเทรา เป็นข้าวพันธุ์เบาที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวขาวดอกมะลิ ซึ่งเป็นข้าวพื้นเมืองที่พบและรู้จักกันในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ด้วยคุณลักษณะอันโดดเด่นยามหุงข้าว กลิ่นจะหอมชวนให้รับประทานไม่เหมือนพันธุ์ข้าวใดในโลก

1.2 ข้าวหอมมะลิทุ่งกุลา เป็นข้าวพันธุ์ที่มาจากแหล่งปลูกข้าวหอมมะลิที่ดีที่สุดในโลก นั่นก็คือที่ราบอันมีอาณาเขตกว้างขวางใหญ่ที่สุดในภาคอีสาน ที่เราเรียกกันว่า “ทุ่งกุลาร้องไห้” ซึ่งเมล็ดข้าวจะมีลักษณะยาว เรียว และเมล็ดไม่มีหางข้าว เมล็ดข้าวที่ผ่านการสีแล้ว จะมีความเลื่อมมัน จมูกข้าวเล็ก เมื่อหุงแล้วจะมีกลิ่นหอมและนุ่ม 

2. ข้าวเหนียว พื้นที่ปลูกข้าวเหนียวพันธุ์ดีส่วนใหญ่ของประเทศไทยอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.1 ข้าวเหนียวพันธุ์ กข. 6 ข้าวพันธุ์มีลักษณะเมล็ดยาวเรียว มีเปลือกสีน้ำตาล เมล็ดมีขนสั้น เป็นสายพันธุ์ข้าวเหนียวหอม ไวต่อช่วงแสง เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์มาจากข้าวเจ้าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวจะนุ่ม มีกลิ่นหอม ทนแล้ง และมีคุณภาพการหุงต้มรับประทานดี เป็นข้าวเหนียวที่ให้ผลผลิตเฉลี่ยสูงสุดเป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่นิยมปลูกกันแพร่หลายในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

2.2 ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์ เป็นข้าวเหนียวที่ปลูกในพื้นที่อำเภอเขาวง อำเภอกุฉินารายณ์ (เฉพาะตำบลนาโท และตำบลหนองห้าง) และกิ่งอำเภอนาคู (เฉพาะตำบลนาคูและตำบลบ่อแก้ว) จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีแคลเซียมและซิลิกอนสูง อากาศเย็นแห้งน้ำน้อย ส่งผลให้ข้าวเหนียวเขาวงกาฬสินธุ์มีความนุ่มและหอมมาก เมื่อนึ่งสุกจะหอมและนุ่ม ไม่แฉะติดมือ และข้าวที่นึ่งแล้วเมื่อเก็บไว้ในภาชนะที่ปิดหลายชั่วโมง จนข้าวเย็นยังคงรักษาความอ่อนนุ่มไว้ได้ 

2.3 ข้าวเหนียวเขี้ยวงู เป็นข้าวที่มีเม็ดเรียวยาว สีขาว และทนทานต่อโรคต่างๆ ได้ดี เมื่อนำมาหุงให้สุกเม็ดข้าวที่ได้จะเหนียวนุ่ม เรียงตัวสวยไม่เละ มีสีขาวในลักษณะเลื่อมเป็นมันและมีกลิ่นหอมน่ารับประทาน ข้าวเหนียวเขี้ยวงูเป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพดีและเป็นสายพันธุ์หนึ่งที่ได้รับความนิยมในการนำมาทำข้าวเหนียวมูน เป็นข้าวที่ปลูกในทางภาคเหนือ นิยมปลูกกันมากในจังหวัดเชียงราย

2.4 ข้าวเหนียวดำหรือข้าวก่ำ เมล็ดข้าวมีสีม่วงดำ และเมล็ดค่อนข้างแข็ง เคี้ยวละเอียดยากกว่า แต่นิยมนำมาทำเป็นขนมหวานมากกว่าข้าวอื่น ๆ และเป็นข้าวที่ชาวนายกย่องให้เป็นพญาข้าวเหนือข้าวพันธุ์อื่น ๆ ซึ่งชาวนามีความเชื่อว่าข้าวก่ำจะปกป้องคุ้มครองข้าวพันธุ์อื่นที่อยู่ในท้องนาไม่ให้ถูกแมลงกัดกิน ทำให้ผลผลิตในการเก็บเกี่ยวข้าวได้ผลดี ข้าวก่ำยังช่วยป้องกันโรคหัวใจ ลดคอเลสเตอรอล และยับยั้งการเจริญเติบโตของโรคมะเร็ง 

3. ข้าวขาว ข้าวขาวที่ปลูกกันอยู่โดยทั่วไปมีหลายพันธุ์

3.1 ข้าวเหลืองประทิวชุมพร เป็นข้าวพื้นเมืองดั้งเดิมของอำเภอปะทิว จ.ชุมพร เป็นข้าวพันธุ์หนักในฤดูนาปี เก็บเกี่ยวในช่วงเดือนธันวาคม มีจำนวนเม็ดต่อรวงจำนวนมาก และปลูกในที่ที่เป็นดินเปรี้ยวได้ดี อีกทั้งยังทนต่อโรคของแมลงได้ด้วย ลักษณะเมล็ดมีสีเหลือง เลื่อมมัน เมล็ดยาว มีน้ำหนักเมล็ดที่ดี เมื่อนำไปหุงแล้วข้าวขึ้นหม้อ จึงเป็นข้าวที่ชาวนาชุมพรมักนิยมปลูก เพราะปลูกง่าย ได้ผลผลิตที่ดี เหมาะกับพื้นที่และสภาพอากาศ

3.2 ข้าวเจ๊กเชยเสาไห้ พันธุ์ข้าวพื้นเมืองคุณภาพดีของอำเภอเสาไห้ จ.สระบุรี ที่มาของชื่อมาจากชื่อผู้นำสายพันธุ์ข้าวพันธุ์นี้เข้ามาในพื้นที่ คือพ่อค้าชาวไทยเชื้อสายจีน ชื่อ “เจ๊กเชย” ซึ่งข้าวสายพันธุ์นี้มีชื่อเสียงมายาวนานตั้งแต่ต้นรัชสมัยรัตนโกสินทร์ เป็นข้าวที่หุงขึ้นหม้อ ไม่แข็งกระด้าง ที่สำคัญไม่บูดง่าย และไม่ยุบตัวเมื่อราดแกง สามารถแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เส้นและขนมได้ดี 

4. ข้าวเพื่อสุขภาพ ข้าวพวกนี้จะเป็นข้าวที่ยังไม่ได้ผ่านการขัดสี ข้าวที่ได้จึงยังคงคุณค่าของวิตามินและกากใยไว้สูง

4.1 ข้าวกล้อง หรือที่บางคนเรียกกันติดปากว่า ข้าวซ้อมมือหรือข้าวแดง เนื่องจากในสมัยโบราณ ชาวบ้านใช้วิธีตำข้าวกินกันเอง จึงเรียกว่า ข้าวซ้อมมือ แต่ปัจจุบันเราใช้เครื่องจักรสีข้าวแทน จึงเรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกนี้ว่า ข้าวกล้อง โดยข้าวกล้องนั้นจะต้องมีส่วนของจมูกข้าวและรำข้าวติดอยู่ด้วยเสมอ ข้าวกล้องมีเส้นใยสูงมากกว่าข้าวขาว 3 – 7 เท่า การกินข้าวกล้องจะได้เส้นใยไปพร้อม ๆ กับสารอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายสารพัดชนิด และเส้นใยในข้าวกล้องยังทำให้รู้สึกอิ่มนานกว่าการกินข้าวขาวและไม่อยากกินจุบจิก

4.2 ข้าวไรซ์เบอร์รี เป็นผลงานการปรับปรุงสายพันธุ์ของ รศ.ดร.อภิชาติ และทีมนักวิจัยจากศูนย์วิจัยพันธุ์ข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และความร่วมมือจากคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) โดยเป็นการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างข้าวเจ้าหอมนิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์พ่อ + ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ซึ่งเป็นสายพันธุ์แม่ ซึ่งพันธุ์ข้าวนี้ได้รับการจดทะเบียนเป็นพันธุ์พืชใหม่ มีลักษณะเรียวยาว ผิวมันวาว เป็นข้าวเจ้าที่มีสีม่วงเข้มคล้ายกับลูกเบอร์รีที่มีสีม่วงเข้มเมื่อสุก มีกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว อีกทั้งยังมีรสชาติหอมมัน เนื้อสัมผัสเหนียวนุ่ม เนื่องจากผ่านการขัดสีเพียงแค่บางส่วนเท่านั้น ข้าวสายพันธุ์พิเศษสีม่วงนี้สามารถปลูกได้ตลอดทั้งปี

4.3 ข้าวมันปู เป็นข้าวที่ชาวจีนเรียกว่า ข้าวแดง หรือชื่อพื้นเมืองเรียกว่า อั้งคั่ก มีลักษณะเยื่อหุ้มเปลือกข้าวเป็นสีแดงแบบสีมันปู จัดเป็นข้าวกล้องหรือข้าวซ้อมมือชนิดหนึ่ง มีไขมันในปริมาณเดียวกับข้าวกล้อง ซึ่งสูงกว่าข้าวขัดสีประมาณสองเท่า มีสารที่เรียกว่าเคโรทีนที่จะเปลี่ยนเป็นวิตามินเอในร่างกายสูงกว่าข้าวขัดสี เมื่อหุงสุกแล้วเนื้อข้าวจะเป็นสีชมพูอ่อน มีกลิ่นหอม เมล็ดนุ่มสวย ไม่แฉะ ดูน่ารับประทาน ใช้ประกอบอาหารต่าง ๆ ได้อร่อย ไม่ว่าจะเป็นข้าวผัด ข้าวอบต่าง ๆ หรือเคี่ยวเป็นโจ๊ก4.4 ข้าวสังข์หยดพัทลุง ข้าวที่มีกำเนิดอยู่ในจังหวัดพัทลุง เป็นข้าวที่มีเมล็ดเล็ก เรียว ท้ายงอน เยื่อหุ้มเมล็ดจะมีสีแดงถึงแดงเข้ม เมื่อหุงสุกแล้วเมล็ดข้าวจะนุ่ม และจับตัวกันคล้ายข้าวเหนียว ข้าวสังข์หยดมีคุณค่าทางอาหารสูงกว่าข้าวพันธุ์อื่น ๆ มีเส้นใยสูง ช่วยชะลอความแก่ มีประโยชน์ในการบำรุงโลหิต ป้องกันโรคความจำเสื่อม และช่วยลดอัตราเสี่ยงของการเป็นมะเร็ง

ปัญหายางตายนึ่ง มีทางแก้!!
| |

ปัญหายางตายนึ่ง มีทางแก้!!

ปัญหายางตายนึ่ง มีทางแก้!!

           เกษตรกรชาวสวนยางพารา เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ “ปัญหายางตายนึ่ง” ลักษณะอาการหน้ายางตายนึ่งที่เด่นชัดคือ เมื่อกรีดไปแล้ว ไม่มีน้ำยางออก ให้สังเกตบริเวณหน้ายางที่เรากรีดไป จะเห็นว่ามีน้ำยางออกน้อยมาก อาการตายนึ่งแบบถาวรจะมีอาการรุนแรงกว่าตายนึ่งชั่วคราว วิธีสังเกตคือ เปลือกจะมีการกะเทาะร่อนออกมา น้ำยางไม่ออก

           โดย บริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ได้คิดค้นวิจัย และเดินหน้าพัฒนา เพื่อ “เพิ่มศักยภาพพืช” พร้อมทั้งแก้ปัญหาดังนี้

-แก้ปัญหายางหน้าตาย (ยางตายนึ่ง)

-ปัญหายางเปลือกแห้ง

-การเพิ่มผลผลิตของน้ำยาง

-การเพิ่มค่า DRC น้ำยางให้สูง

นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางกลุ่มงานวิจัย บริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ให้ความสำคัญกับปัญหายางหน้าตาย (ตายนึ่ง) อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความพร้อมตลอด และติดตามความก้าวหน้าผลการจัดเก็บข้อมูล การรับทราบข้อมูลการแก้ไขปัญหายางพารา ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง



โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!
| |

โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!

โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!

• สาเหตุ

        – สวนยางขาดการบำรุงรักษา

        – การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนด และใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน

        – กรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป กรีดถี่เกินไป และใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง

        – เกิดการผิดปกติภายในท่อน้ำยาง

• ลักษณะอาการของโรค

ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้

    1. น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ
    2. น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ การหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ
    3. น้ำยางที่กรีดได้จะใส และมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ
    4. เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง

ขณะเป็นโรค ต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหล เปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตก พุพอง แต่ต้นยางไม่ตาย ถ้าปล่อยปะไม่ควบคุม จะแพร่กระจายลุกลาม ทำให้หน้ากรีดของยางต้นนั้นเสียหายทั้งหมด (ไม่แพร่ระบาดไปสู่ต้นอื่น) การ ลุกลามของโรคมีหลายลักษณะดังนี้

    1. โรคนี้ส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางด้านซ้ายมือเสมอ
    2. เกิดโรคนี้แล้วไม่มีการดูแลรักษา โรคจะลุกลามไปยังหน้ากรีดที่อยู่ติดกัน
    3. การลุกลามของโรคบนหน้ากรีด ถ้ากรีดจากบนลงล่างโรคก็จะลุกลามจากบนลงล่าง ถ้ากรีดจากล่างขึ้นบนโรคก็จะลุกลามจากล่างขึ้นบน
    4. อาการเปลือกแห้งจะไม่ลุกลามจากเปลือกที่ยังไม่ทำการกรีดไปยังเปลือกงอกใหม่ และไม่ลุกลามจากเปลือกงอกใหม่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
    5. ถ้าเป็นโรคเปลือกแห้งชนิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 – 3 เดือน หน้ากรีดของต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้งทั้งหมด

• การป้องกันกำจัด

    1. เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก
    2. ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ
    3. ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง
    4. อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด
    5. หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ

• ยางที่จะเปิดกรีดใหม่

– สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ก่อนเปิดกรีด 3 เดือน ควรทำร่องแยกหน้ากรีดออกจากกัน ในการทำร่องให้ใช้สิ่วเซาะเป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง

– ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น โดยให้ร่องจดกับร่องที่ทำแบ่งแยกหน้ากรีด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามลงสู่ราก

– เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาดและกรีดตามระบบที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง

• ยางที่เปิดกรีดแล้วและเป็นโรคเปลือกแห้งเพียงบางส่วน

– หากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเพียงบางส่วน ถ้าไม่ควบคุมโรคจะลุกลามออกไป ทำให้หน้ากรีดเสียหายทั้งหมด

– ควบคุมโดยทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน วิธีทำร่องใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 ซม.

– หลังจากทำร่องเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค

ปัญหา!!โรคใบที่เกิดจาก เชื้อคอลเลตโตตริกัม
| |

ปัญหา!!โรคใบที่เกิดจาก เชื้อคอลเลตโตตริกัม

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Gloeosporium alborubrum) และ Colletotrichum heveae

ลักษณะอาการของโรค

        ถ้าเกิดจากเชื้อ C.gloeosporioides เชื้อนี้เข้าทำลายใบยางขณะมีอายุ 5 – 15 วัน หลังจากเริ่มผลิต คือ ระยะที่ใบขยายและกำลังเปลี่ยนจากสีทองแดงเป็นเขียวอ่อน เมื่อเชื้อราเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวและหลุดร่วงทันที แต่ถ้าหากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อใบโตเต็มที่แล้ว ใบจะแสดงอาการเป็นจุด ปลายใบหงิกงอ แผ่นใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีขอบแผลสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด

        ถ้าเกิดจากเชื้อ C.heveae ระยะเริ่มแรกของโรคนี้จะมีแผลเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กค่อนข้างกลม ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม แล้วขยายออกจนกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้น ซึ่งแผลของโรคนี้จะใหญ่กว่าโรคที่เกิดจาก C. gloeosporioides ตรงกลางแผลจะเกิดจุดสีดำของราเป็นคล้ายขนแข็ง ๆ ยื่นขึ้นมาจากผิวใบ โรคนี้มักเกิดกับต้นยางที่ปลูกในดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการแพร่กระจายของโรค

        เชื้อนี้จะแพร่กระจายในระยะฝนชุก และเข้าทำลายส่วนยอดหรือกิ่งอ่อนที่ยังเป็น สีเขียวอยู่ ซึ่งจะเห็นเป็นรอยแตกบนเปลือก โดยแผลมีลักษณะกลมคล้ายฝาชีที่ยอดขาดแหว่งไป หรือมีรูปร่างยาวรีไปตามเปลือกก็ได้ ถ้าเป็นมากยอดนั้น ๆ จะแห้งตาย หากอากาศแห้งแล้งในระยะต่อมาจะทำให้ต้นยางเล็กแห้งตายได้

การป้องกันกำจัด

  1. เนื่องจากโรคนี้เกิดกับยางที่ไม่สมบูรณ์ การบำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นยาง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
  2. ป้องกันใบที่ผลิออกมาใหม่มิให้เป็นโรค โดยใช้สารเคมี ไซเน็บ หรือแคบตาโฟล ผสมสารจับใบฉีดพ่น 5 – 6 ครั้ง ในระยะที่ใบอ่อนกำลังขยายตัวจนมีขนาดโตเต็มที่
เคล็ดลับ! การปลูกและการดูแลรักษายางพารา
|

เคล็ดลับ! การปลูกและการดูแลรักษายางพารา

เคล็ดลับ! การปลูกและการดูแลรักษายางพารา

การเตรียมพื้นที่

          สภาพพื้นที่เดิมที่จะใช้สำหรับปลูกยางพาราในแต่ละท้องที่แต่ละแห่ง จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพื้นที่ และในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกจึงสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ในกรณีที่เป็นสวนยางพาราเก่า พื้นที่มีลักษณะเป็นป่า หรือมีไม้อื่นปลูกรวมอยู่ด้วย  การเตรียมพื้นที่นั้นจะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อน   ซึ่งการโค่นล้มไม้อาจทำโดยใช้แรงงานคน หรือแรงงานเครื่องจักรกล  เช่น ใช้เลื่อย ใช้ขวานฟันหรือใช้เลื่อยยนต์ก็ได้ โดยตัดไม้ให้เหลือเฉพาะตอไม้  ให้ความสูงจากพื้นดินประมาณ 50 ถึง 60 เซนติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอไม้โดยใช้ยาฆ่าตอไม้  ชนิด 2,4,5-T  ในอัตราส่วนสารเคมี 1 ส่วน ผสมน้ำมันโซล่า 16 ส่วน และใช้ทาตอไม้ในขณะที่ยังมีความสดอยู่  ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้ตอไม้ตายและผุสลายเร็วขึ้น  หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมดก็ได้ วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนของไม้ออกได้หมด  แต่มีข้อเสียบางประการคือเกิดการสูญเสียหน้าดินมากหลังจากโค่นต้นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว และจะต้องเก็บไม้ใหญ่ออกจากพื้นที่  จากนั้นเก็บเศษไม้ต่างๆ มารวมกันไว้เป็นกอง  จัดเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ และตากให้แห้งเพื่อทำแนวกันไฟ  จากนั้นก็ทำการเผาเศษไม้เหล่านั้น  หลังจากเผาเสร็จแล้ว  ก็ควรจะรวบรวมปรนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดมารวมกันเพื่อเผาใหม่อีกครั้ง  และทำการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก  โดยการใช้วิธีการไถ  จำนวน 2 ครั้ง พรวนดินอีก 1 ครั้ง  ส่วนพื้นที่ที่ยังมีตอไม้ยางเก่าหรือตอไม้อื่นอยู่หลงเหลืออยู่  อาจจะทำให้การเตรียมดินสำหรับการปลูกไม่สะดวกมากนัก  แต่หากเป็นกรณีที่เป็นพื้นที่ที่จะปลูกมีความลาดเทมาก เช่น พื้นที่บริเวณควนหรือเนิน  จะต้องมีการจัดทำพื้นที่เป็นขั้นบันไดหรือทำการต้านดิน  เพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างดินเหล่านั้นให้ไหลตามน้ำ  การทำพื้นที่เป็นขั้นบันไดอาจทำเฉพาะในลักษณะของต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน หรืออาจจะจะทำพื้นที่ในลักษณะเป็นวงรอบไปตามลักษณะของควนหรือเนินก็ได้   โดยให้ระดับขนานกับพื้นดิน และความกว้างของขั้นบันไดอย่างน้อยกว้าง  1.5 เมตร และแต่ละขั้นบันไดก็ใช้วิธีการตัดดินให้มีความลึกและเอียงเข้าไปในทางเป็นเนินดิน  โดยให้บริเวณขอบด้านนอกของขั้นบันไดเป็นลักษณะคันดิน  มีความสูงประมาณ  30 เซนติเมตร ความกว้าง 60 ถึง 70 เซนติเมตร  และระยะห่างระหว่างขั้นบันไดมีความกว้างระหว่าง 8 ถึง 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของควนหรือเนิน  หากมีความชันมากระยะระหว่างขั้นบันไดก็ควรจะห่างออกไปด้วย

ระยะปลูกและการวางแนวปลูก

          การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ เช่น พันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่ เป็นต้น สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางพาราจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนยางพาราในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางพาราดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่

          การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ซึ่งทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้กำหนดระยะปลูกยางในพื้นที่ราบไว้ดังนี้

ระยะปลูกยาง (เมตร)

จำนวน (ต้นต่อไร่)

หมายเหตุ

3×7

76

ปลูกพืชแซม

2.5×8

76

ปลูกพืชแซม

3×8

67

ปลูกพืชแซม

3.5×7

67

ปลูกพืชแซม

4.6

67

ไม่ปลูกพืชแซม

ส่วนการกำหนดแถวหรือการจัดวางแนวปลูกเพื่อให้ได้สวนยางพาราที่มีลักษณะสวยงามเป็นระเบียบ  มีขั้นตอนในการจัดวางแนวดังต่อไปนี้

  • กำหนดแถวหลัก การกำหนดแถวหลักควรจะปลูกขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน และจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางพาราเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางพาราเก่าเนื่องจากต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ

  • จัดเล็งแนวการทำแถวหลัก  การกำหนดแถวหลักควรจะปลูกขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน และจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางพาราเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางพาราเก่าเนื่องจากต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ
ปัญหายางตายนึ่ง
| |

ปัญหายางตายนึ่ง

ปัญหายางหน้าตายนึ่ง

เกษตรกรชาวสวนยางพารา เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ “ปัญหายางตายนึ่ง” ลักษณะอาการหน้ายางตายนึ่งที่เด่นชัดคือ เมื่อกรีดไปแล้ว ไม่มีน้ำยางออก ให้สังเกตบริเวณหน้ายางที่เรากรีดไป จะเห็นว่ามีน้ำยางออกน้อยมาก อาการตายนึ่งแบบถาวรจะมีอาการรุนแรงกว่าตายนึ่งชั่วคราว วิธีสังเกตคือ เปลือกจะมีการกะเทาะร่อนออกมา น้ำยางไม่ออก

 

โดย บริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ได้คิดค้นวิจัย และเดินหน้าพัฒนา เพื่อ “เพิ่มศักยภาพพืช” พร้อมทั้งแก้ปัญหาดังนี้

-แก้ปัญหายางหน้าตาย (ยางตายนึ่ง)
-ปัญหายางเปลือกแห้ง
-การเพิ่มผลผลิตของน้ำยาง
-การเพิ่มค่า DRC น้ำยางให้สูง
ซึ่งทางบริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ได้ให้ความสำคัญกับปัญหายางหน้าตาย (ยางตายนึ่ง) อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความพร้อมอยู่ตลอด