ยางพารา

|

โรคราเส้นดำ

ความร้ายกาจของโรคนี้คือมันจะเข้าไปทำลายหน้ากรีดจนเน่าทำให้ต้องหยุดกรีดจนกว่าแผลที่หน้ายางจะหายดี และเมื่อเปลือกใหม่งอกขึ้นมาก็ไม่สามารถกรีดซ้ำบนหน้ากรีดเดิมได้ ซึ่งเชื้อรานี้จะเข้าทำลายเฉพาะบริเวณเปลือกยางที่มีบาดแผลเท่านั้น โดยส่วนใหญ่จะเข้าทำลายทางรอยกรีดใหม่ที่กรีดไปแล้วไม่เกิน 24 ชั่วโมง ฉะนั้นการกรีดยางให้ดีและถูกต้องเสมอก็จะช่วยให้ต้นยางมีแนวโน้มที่จะรอดจากโรคนี้ได้ด้วย

ลักษณะอาการ

ระยะแรก : หลังจากที่เชื้อราเข้าทำลายแล้ว จะเห็นบริเวณที่เป็นโรคมีสีผิดปกติเป็นรอยช้ำ ส่วนมากมักจะเกิดขึ้นเหนือรอยกรีด
ระยะรุนแรง : เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นบริเวณที่เป็นรอยช้ำนี้จะเปลี่ยนเป็นรอยบุ๋มสีดำ และจะขยายตัวยาวขึ้นไปในแนวดิ่ง คือสูงขึ้นไปส่วนบนเหนือรอยกรีดและลงใต้รอยกรีดอย่างรวดเร็ว ระยะนี้จะสังเกตเห็นอาการของโรคได้ชัดเจน เนื่องจากเยื่อเจริญส่วนนั้นตายหมด เมื่อเฉือนเปลือกออกดูจะพบรอยบุ๋มสีดำนั้นมีลายเส้นสีดำบนเนื้อไม้บริเวณแผล ซึ่งมักเป็นรอยยาวตามแนวยืนของลำต้น
ระยะรุนแรงมาก : จะทำให้เปลือกของหน้ายางบริเวณที่เป็นโรค มีอาการปริ มีน้ำยางไหลออกมา ตลอดเวลา และเปลือกบริเวณที่เป็นโรคนี้จะเน่าหลุดออกทั้งหมดในที่สุด

การป้องกันโรค

  • ควรหลีกเลี่ยงการเปิดกรีดต้นยางพาราในช่วงฤดูฝนชุก โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีโรคระบาดรุนแรง
  • ถ้าพบอาการที่หน้ากรีด ต้องเฉือนส่วนที่เป็นโรคออกก่อนแล้วทาด้วยยารักษาโรค ทั้งนี้อาจใช้เป็นสารเคมีกำจัดเชื้อรา หรือใช้ชีวภัณฑ์กำจัดเชื้อราก็ได้
  • ตัดแต่งกิ่งยางและปราบวัชพืชในสวนยางให้สวนยางโปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อให้หน้ายางแห้งเร็วขึ้น และเป็นการลดความรุนแรงของโรคได้
  • ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพ่นหรือทาหน้ากรีดยางทุก 7 วัน
  • หากมีโอกาสปลูกยางใหม่ควรเลือกพันธุ์ที่ต้านทานโรค คือ พันธุ์ 251 พันธุ์สงขลา 36 , บีพีเอ็ม 24, พีอาร์ 255 เป็นต้น
ปัญหายางตายนึ่ง มีทางแก้!!
| |

ปัญหายางตายนึ่ง มีทางแก้!!

ปัญหายางตายนึ่ง มีทางแก้!!

           เกษตรกรชาวสวนยางพารา เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ “ปัญหายางตายนึ่ง” ลักษณะอาการหน้ายางตายนึ่งที่เด่นชัดคือ เมื่อกรีดไปแล้ว ไม่มีน้ำยางออก ให้สังเกตบริเวณหน้ายางที่เรากรีดไป จะเห็นว่ามีน้ำยางออกน้อยมาก อาการตายนึ่งแบบถาวรจะมีอาการรุนแรงกว่าตายนึ่งชั่วคราว วิธีสังเกตคือ เปลือกจะมีการกะเทาะร่อนออกมา น้ำยางไม่ออก

           โดย บริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ได้คิดค้นวิจัย และเดินหน้าพัฒนา เพื่อ “เพิ่มศักยภาพพืช” พร้อมทั้งแก้ปัญหาดังนี้

-แก้ปัญหายางหน้าตาย (ยางตายนึ่ง)

-ปัญหายางเปลือกแห้ง

-การเพิ่มผลผลิตของน้ำยาง

-การเพิ่มค่า DRC น้ำยางให้สูง

นอกจากนี้ ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ทางกลุ่มงานวิจัย บริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ให้ความสำคัญกับปัญหายางหน้าตาย (ตายนึ่ง) อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความพร้อมตลอด และติดตามความก้าวหน้าผลการจัดเก็บข้อมูล การรับทราบข้อมูลการแก้ไขปัญหายางพารา ให้กับพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง



โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!
| |

โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!

โรคเปลือกแห้ง ปัญหาใหญ่ต้องรีบแก้!!

• สาเหตุ

        – สวนยางขาดการบำรุงรักษา

        – การใส่ปุ๋ยไม่ตรงกับเวลาที่กำหนด และใช้ปุ๋ยไม่เหมาะสมกับสภาพของดิน

        – กรีดเอาน้ำยางออกมากเกินไป กรีดถี่เกินไป และใช้ระบบกรีดไม่ถูกต้อง

        – เกิดการผิดปกติภายในท่อน้ำยาง

• ลักษณะอาการของโรค

ก่อนเกิดโรค ต้นยางที่จะเป็นโรคเปลือกแห้ง มักจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างประกอบกันให้สังเกตเห็นได้ ดังนี้

    1. น้ำยางบนรอยกรีดจะจับตัวกันเร็วกว่าปกติ
    2. น้ำยางที่กรีดได้จะมีปริมาณมากกว่าปกติ การหยดของน้ำยางนานกว่าปกติ
    3. น้ำยางที่กรีดได้จะใส และมีปริมาณเนื้อยางแห้งต่ำ
    4. เปลือกของต้นยางเหนือรอยกรีดจะมีสีซีดลง

ขณะเป็นโรค ต้นยางเปลือกจะแห้ง กรีดแล้วไม่มีน้ำยางไหล เปลือกต้นยางตามลำต้นจะแตก พุพอง แต่ต้นยางไม่ตาย ถ้าปล่อยปะไม่ควบคุม จะแพร่กระจายลุกลาม ทำให้หน้ากรีดของยางต้นนั้นเสียหายทั้งหมด (ไม่แพร่ระบาดไปสู่ต้นอื่น) การ ลุกลามของโรคมีหลายลักษณะดังนี้

    1. โรคนี้ส่วนใหญ่จะลุกลามไปทางด้านซ้ายมือเสมอ
    2. เกิดโรคนี้แล้วไม่มีการดูแลรักษา โรคจะลุกลามไปยังหน้ากรีดที่อยู่ติดกัน
    3. การลุกลามของโรคบนหน้ากรีด ถ้ากรีดจากบนลงล่างโรคก็จะลุกลามจากบนลงล่าง ถ้ากรีดจากล่างขึ้นบนโรคก็จะลุกลามจากล่างขึ้นบน
    4. อาการเปลือกแห้งจะไม่ลุกลามจากเปลือกที่ยังไม่ทำการกรีดไปยังเปลือกงอกใหม่ และไม่ลุกลามจากเปลือกงอกใหม่ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง
    5. ถ้าเป็นโรคเปลือกแห้งชนิดที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ภายใน 2 – 3 เดือน หน้ากรีดของต้นยางจะเป็นโรคเปลือกแห้งทั้งหมด

• การป้องกันกำจัด

    1. เอาใจใส่บำรุงรักษาสวนยางให้สมบูรณ์แข็งแรงตั้งแต่เริ่มปลูก
    2. ใส่ปุ๋ยที่เหมาะสมตามจำนวนและระยะเวลาที่ทางวิชาการแนะนำ
    3. ใช้ระบบกรีดให้ถูกต้องและเหมาะสมกับพันธุ์ยาง
    4. อย่ากรีดยางเมื่อยางยังไม่ได้ขนาดเปิดกรีด
    5. หยุดกรีดยางในขณะยางผลัดใบ

• ยางที่จะเปิดกรีดใหม่

– สำหรับยางที่เริ่มเปิดกรีดใหม่ ก่อนเปิดกรีด 3 เดือน ควรทำร่องแยกหน้ากรีดออกจากกัน ในการทำร่องให้ใช้สิ่วเซาะเป็นร่องลึกจนถึงเนื้อไม้ โดยทำร่องเดียวตรงตลอดจากจุดที่จะเปิดกรีดด้านบนจนถึงส่วนโคนของต้นยาง

– ทำร่องบริเวณโคนต้นยางให้ร่องนี้ขวางกับลำต้น โดยให้ร่องจดกับร่องที่ทำแบ่งแยกหน้ากรีด เพื่อป้องกันมิให้โรคลุกลามลงสู่ราก

– เปิดกรีดเมื่อต้นยางได้ขนาดและกรีดตามระบบที่เหมาะสมกับพันธุ์ยาง

• ยางที่เปิดกรีดแล้วและเป็นโรคเปลือกแห้งเพียงบางส่วน

– หากต้นยางแสดงอาการเปลือกแห้งเพียงบางส่วน ถ้าไม่ควบคุมโรคจะลุกลามออกไป ทำให้หน้ากรีดเสียหายทั้งหมด

– ควบคุมโดยทำร่องแยกส่วนที่เป็นโรคออกจากกัน วิธีทำร่องใช้สิ่วเซาะร่องให้ลึกถึงเนื้อไม้รอบบริเวณที่เป็นโรค ห่างจากบริเวณที่เป็นโรคประมาณ 2 ซม.

– หลังจากทำร่องเรียบร้อยแล้ว ก็สามารถเปิดกรีดต่อไปได้ตามปกติ แต่ต้องเปิดกรีดต่ำกว่าบริเวณที่เป็นโรค

ปัญหา!!โรคใบที่เกิดจาก เชื้อคอลเลตโตตริกัม
| |

ปัญหา!!โรคใบที่เกิดจาก เชื้อคอลเลตโตตริกัม

เชื้อสาเหตุ เชื้อรา Colletotrichum gloeosporioides (Gloeosporium alborubrum) และ Colletotrichum heveae

ลักษณะอาการของโรค

        ถ้าเกิดจากเชื้อ C.gloeosporioides เชื้อนี้เข้าทำลายใบยางขณะมีอายุ 5 – 15 วัน หลังจากเริ่มผลิต คือ ระยะที่ใบขยายและกำลังเปลี่ยนจากสีทองแดงเป็นเขียวอ่อน เมื่อเชื้อราเข้าทำลายอย่างรุนแรง ใบจะเหี่ยวและหลุดร่วงทันที แต่ถ้าหากเชื้อราเข้าทำลายเมื่อใบโตเต็มที่แล้ว ใบจะแสดงอาการเป็นจุด ปลายใบหงิกงอ แผ่นใบเป็นจุดสีน้ำตาล มีขอบแผลสีเหลือง เมื่อใบมีอายุมากขึ้นจุดเหล่านี้จะนูนจนสังเกตเห็นได้ชัด

        ถ้าเกิดจากเชื้อ C.heveae ระยะเริ่มแรกของโรคนี้จะมีแผลเป็นจุดสีน้ำตาลขนาดเล็กค่อนข้างกลม ขอบแผลมีสีน้ำตาลเข้ม แล้วขยายออกจนกลายเป็นแผลใหญ่ขึ้น ซึ่งแผลของโรคนี้จะใหญ่กว่าโรคที่เกิดจาก C. gloeosporioides ตรงกลางแผลจะเกิดจุดสีดำของราเป็นคล้ายขนแข็ง ๆ ยื่นขึ้นมาจากผิวใบ โรคนี้มักเกิดกับต้นยางที่ปลูกในดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม และการแพร่กระจายของโรค

        เชื้อนี้จะแพร่กระจายในระยะฝนชุก และเข้าทำลายส่วนยอดหรือกิ่งอ่อนที่ยังเป็น สีเขียวอยู่ ซึ่งจะเห็นเป็นรอยแตกบนเปลือก โดยแผลมีลักษณะกลมคล้ายฝาชีที่ยอดขาดแหว่งไป หรือมีรูปร่างยาวรีไปตามเปลือกก็ได้ ถ้าเป็นมากยอดนั้น ๆ จะแห้งตาย หากอากาศแห้งแล้งในระยะต่อมาจะทำให้ต้นยางเล็กแห้งตายได้

การป้องกันกำจัด

  1. เนื่องจากโรคนี้เกิดกับยางที่ไม่สมบูรณ์ การบำรุงรักษาสภาพดินให้เหมาะแก่การเจริญเติบโตของต้นยาง จึงเป็นวิธีป้องกันที่ดีที่สุด
  2. ป้องกันใบที่ผลิออกมาใหม่มิให้เป็นโรค โดยใช้สารเคมี ไซเน็บ หรือแคบตาโฟล ผสมสารจับใบฉีดพ่น 5 – 6 ครั้ง ในระยะที่ใบอ่อนกำลังขยายตัวจนมีขนาดโตเต็มที่
เคล็ดลับ! การปลูกและการดูแลรักษายางพารา
|

เคล็ดลับ! การปลูกและการดูแลรักษายางพารา

เคล็ดลับ! การปลูกและการดูแลรักษายางพารา

การเตรียมพื้นที่

          สภาพพื้นที่เดิมที่จะใช้สำหรับปลูกยางพาราในแต่ละท้องที่แต่ละแห่ง จะมีลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามลักษณะของพื้นที่ และในการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูกจึงสามารถทำได้หลายวิธี เช่น ในกรณีที่เป็นสวนยางพาราเก่า พื้นที่มีลักษณะเป็นป่า หรือมีไม้อื่นปลูกรวมอยู่ด้วย  การเตรียมพื้นที่นั้นจะต้องโค่นล้มไม้เหล่านี้ออกเสียก่อน   ซึ่งการโค่นล้มไม้อาจทำโดยใช้แรงงานคน หรือแรงงานเครื่องจักรกล  เช่น ใช้เลื่อย ใช้ขวานฟันหรือใช้เลื่อยยนต์ก็ได้ โดยตัดไม้ให้เหลือเฉพาะตอไม้  ให้ความสูงจากพื้นดินประมาณ 50 ถึง 60 เซนติเมตร จากนั้นจะต้องทำการฆ่าตอไม้โดยใช้ยาฆ่าตอไม้  ชนิด 2,4,5-T  ในอัตราส่วนสารเคมี 1 ส่วน ผสมน้ำมันโซล่า 16 ส่วน และใช้ทาตอไม้ในขณะที่ยังมีความสดอยู่  ซึ่งเป็นวิธีการที่จะทำให้ตอไม้ตายและผุสลายเร็วขึ้น  หรืออาจใช้รถแทรกเตอร์ไถต้นไม้ทั้งหมดก็ได้ วิธีนี้จะถอนรากถอนโคนของไม้ออกได้หมด  แต่มีข้อเสียบางประการคือเกิดการสูญเสียหน้าดินมากหลังจากโค่นต้นยางเก่าหรือต้นไม้อื่นลงหมดแล้ว และจะต้องเก็บไม้ใหญ่ออกจากพื้นที่  จากนั้นเก็บเศษไม้ต่างๆ มารวมกันไว้เป็นกอง  จัดเรียงเป็นแนวตามพื้นที่ และตากให้แห้งเพื่อทำแนวกันไฟ  จากนั้นก็ทำการเผาเศษไม้เหล่านั้น  หลังจากเผาเสร็จแล้ว  ก็ควรจะรวบรวมปรนที่ยังเผาไหม้ไม่หมดมารวมกันเพื่อเผาใหม่อีกครั้ง  และทำการเตรียมพื้นที่สำหรับปลูก  โดยการใช้วิธีการไถ  จำนวน 2 ครั้ง พรวนดินอีก 1 ครั้ง  ส่วนพื้นที่ที่ยังมีตอไม้ยางเก่าหรือตอไม้อื่นอยู่หลงเหลืออยู่  อาจจะทำให้การเตรียมดินสำหรับการปลูกไม่สะดวกมากนัก  แต่หากเป็นกรณีที่เป็นพื้นที่ที่จะปลูกมีความลาดเทมาก เช่น พื้นที่บริเวณควนหรือเนิน  จะต้องมีการจัดทำพื้นที่เป็นขั้นบันไดหรือทำการต้านดิน  เพื่อสกัดกั้นไม่ให้น้ำฝนชะล้างดินเหล่านั้นให้ไหลตามน้ำ  การทำพื้นที่เป็นขั้นบันไดอาจทำเฉพาะในลักษณะของต้นหรือยาวเป็นแนวเดียวกัน หรืออาจจะจะทำพื้นที่ในลักษณะเป็นวงรอบไปตามลักษณะของควนหรือเนินก็ได้   โดยให้ระดับขนานกับพื้นดิน และความกว้างของขั้นบันไดอย่างน้อยกว้าง  1.5 เมตร และแต่ละขั้นบันไดก็ใช้วิธีการตัดดินให้มีความลึกและเอียงเข้าไปในทางเป็นเนินดิน  โดยให้บริเวณขอบด้านนอกของขั้นบันไดเป็นลักษณะคันดิน  มีความสูงประมาณ  30 เซนติเมตร ความกว้าง 60 ถึง 70 เซนติเมตร  และระยะห่างระหว่างขั้นบันไดมีความกว้างระหว่าง 8 ถึง 10 เมตร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความลาดชันของควนหรือเนิน  หากมีความชันมากระยะระหว่างขั้นบันไดก็ควรจะห่างออกไปด้วย

ระยะปลูกและการวางแนวปลูก

          การกำหนดระยะปลูกและการวางแนวปลูกจะต้องพิจารณาถึงสิ่งต่างๆ เช่น พันธุ์ยางพาราที่ใช้ปลูก สภาพพื้นที่ เป็นต้น สำหรับระยะปลูกในที่ราบ จากการทดลองค้นคว้าพบว่าต้นยางพาราจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 20 ตารางเมตรต่อ 1 ต้น สำหรับการแนะนำเจ้าของสวนยางพาราในเรื่องระยะปลูกจึงต้องคำนึงถึงเรื่องพื้นที่ที่จะให้ต้นยางพาราดังกล่าวเป็นหลัก ส่วนจะใช้ระยะเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับว่าจะปลูกพืชแซมระหว่างแถวยางหรือไม่

          การใช้ระยะระหว่างแถวกว้าง วัชพืชจะมีพื้นที่ในการเจริญเติบโตมากเช่นเดียวกัน ถ้าใช้ระยะระหว่างแถวแคบเกินไปหรือมีระยะน้อยกว่า 2.5 เมตร ต้นยางจะเบียดเสียดกันแย่งธาตุอาหารกันและจะชะลูดขึ้นไป เจริญเติบโตทางด้านข้างน้อย ซึ่งทางสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางได้กำหนดระยะปลูกยางในพื้นที่ราบไว้ดังนี้

ระยะปลูกยาง (เมตร)

จำนวน (ต้นต่อไร่)

หมายเหตุ

3×7

76

ปลูกพืชแซม

2.5×8

76

ปลูกพืชแซม

3×8

67

ปลูกพืชแซม

3.5×7

67

ปลูกพืชแซม

4.6

67

ไม่ปลูกพืชแซม

ส่วนการกำหนดแถวหรือการจัดวางแนวปลูกเพื่อให้ได้สวนยางพาราที่มีลักษณะสวยงามเป็นระเบียบ  มีขั้นตอนในการจัดวางแนวดังต่อไปนี้

  • กำหนดแถวหลัก การกำหนดแถวหลักควรจะปลูกขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน และจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางพาราเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางพาราเก่าเนื่องจากต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ

  • จัดเล็งแนวการทำแถวหลัก  การกำหนดแถวหลักควรจะปลูกขวางทิศทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดิน และจะต้องให้ห่างจากแนวสวนยางพาราเก่าไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร และไม่ควรกำหนดแถวหลักไปตามแนวเดียวกับสวนยางพาราเก่าเนื่องจากต้นยางพาราที่ปลูกใหม่จะถูกแย่งอาหารและได้รับแสงไม่เพียงพอ
ปัญหายางตายนึ่ง
| |

ปัญหายางตายนึ่ง

ปัญหายางหน้าตายนึ่ง

เกษตรกรชาวสวนยางพารา เชื่อว่าทุกท่านต้องเคยเจอปัญหาอย่างหนึ่งคือ “ปัญหายางตายนึ่ง” ลักษณะอาการหน้ายางตายนึ่งที่เด่นชัดคือ เมื่อกรีดไปแล้ว ไม่มีน้ำยางออก ให้สังเกตบริเวณหน้ายางที่เรากรีดไป จะเห็นว่ามีน้ำยางออกน้อยมาก อาการตายนึ่งแบบถาวรจะมีอาการรุนแรงกว่าตายนึ่งชั่วคราว วิธีสังเกตคือ เปลือกจะมีการกะเทาะร่อนออกมา น้ำยางไม่ออก

 

โดย บริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ได้คิดค้นวิจัย และเดินหน้าพัฒนา เพื่อ “เพิ่มศักยภาพพืช” พร้อมทั้งแก้ปัญหาดังนี้

-แก้ปัญหายางหน้าตาย (ยางตายนึ่ง)
-ปัญหายางเปลือกแห้ง
-การเพิ่มผลผลิตของน้ำยาง
-การเพิ่มค่า DRC น้ำยางให้สูง
ซึ่งทางบริษัท เอ็มดี ครอป จำกัด ได้ให้ความสำคัญกับปัญหายางหน้าตาย (ยางตายนึ่ง) อย่างต่อเนื่อง โดยมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาความพร้อมอยู่ตลอด